โค้งสุดท้ายก่อนเข้าคูหา สำรวจนโยบายเทคโนโลยีจากพรรคการเมือง พรรคไหนชนะใจสาย crypto

โค้งสุดท้ายก่อนเข้าคูหา สำรวจนโยบายเทคโนโลยีจากพรรคการเมือง พรรคไหนชนะใจสาย crypto

ข่าวสาร
May 13, 2023 by Cryptocamping
Frame 721 (55)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา และนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคมที่จะถึงนี้

วันนี้ crypto camping พาสำรวจนโยบายเทคโนโลยีของ 6 พรรคการเมือง

เริ่มด้วย 1. พรรคก้าวไกล นาทีนี้ร้อนแรงไม่หยุดกับด้อมส้ม ที่มีแคนดิเดตนายกอย่าง คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งได้เคยให้ความเห็นในเรื่องของการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนและ Crypto มาใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยส่วนตัวมีความสนใจในบล็อกเชน Layer-2 ตัวใหญ่อยู่ 2-3 ตัว และสนใจที่จะนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับภาครัฐ โดยเขาได้เห็นกรณีตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนกับการจัดการที่ดินของประเทศสวีเดน และสกุลเงินดิจิทัลหรือ Crypto ว่าสกุลเงินเหล่านี้ สามารถใช้ในการค้าขายระหว่างประเทศเพื่อลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมลงได้ ทั้งยังมีแนวคิดในการพิจารณาสร้าง Stablecoin ของรัฐเอง ซึ่งกำลังหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย

1. หากมีการนำเข้ายุทโธปกรณ์ ต้องจ้างงาน-โอนถ่ายเทคโนโลยี (Defence Offset)

2. ประชาชนเข้าชื่อออนไลน์เสนอโครงการ-ข้อบัญญัติ ถอดถอนท้องถิ่นได้

3. ระบบ AI จับโกง ทุกบริการภาครัฐ ทำได้ผ่านมือถือ

4. นำเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลมาใช้แก้ปัญหานักเรียนเครียด-ซึมเศร้าให้มีที่ปรึกษา

5. ส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษา

2.พรรคเพื่อไทย กลายเป็นกระแสเพียงข้ามคืน กับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาทของเพื่อไทย ไม่ใช่การสร้างสกุลเงินใหม่ แต่คล้ายคูปองแลกซื้อสินค้า กระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า แม้จะมีข้อถกเถียงกันอย่างมาก แต่เพื่อไทยเดินหน้าชูนโยบายดังกล่าวอย่างหนักแน่น และก่อนหน้านี้ยังมีการประกาศประกาศนโยบาย “ประเทศไทยเป็น Blockchain Hub แห่งอาเซียน” เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยระดมทุนจากทั่วโลกโดยไม่ต้องผ่านระบบธนาคารแบบเดิม ส่งเสริมให้ศิลปินไทยขายงานเป็น NFT ไปยังตลาดโลก

1. ใช้ระบบ Blockchain สร้างความโปร่งใสให้รัฐบาล ทุกอย่างตรวจสอบได้ ลดการคอร์รัปชัน

2. ใช้ระบบการชำระเงินและค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

3. ใช้ Central Bank Digital Currency (CBDC) เพื่อความโปร่งใสการจัดจ้าง

4. ยกระดับหน่วยงานราชหน่วยงานข้าราชการดิจิทัล (e-government = paperless government)

5. ผลักดันไทยเป็น Blockchain Hub และ Fintech Center ของอาเซียน

3.พรรคพลังประชารัฐ แม้ก่อนหน้านี้“ฟิล์ม รัฐภูมิ” โฆษกพรรคพลังประชารัฐ แสดงความคิดเห็นถึง นโยบายสกุลเงินดิจิทัลของพรรคคู่แข่งอย่างพรรคเพื่อไทยว่า ตนนั้นไม่เห็นด้วยเพราะ “ไม่เชื่อว่า Blockchain จะนำไปใช้งานได้จริง” พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า เงินงบประมาณของรัฐที่นำมาแจกจะไปอยู่ที่ใคร ไม่สามารถตรวจสอบได้เพราะไม่มีใครรู้จัก Satoshi Nakamoto ผู้สร้าง Blockchain  แต่รองหัวหน้าพรรคอย่าง ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ยังให้ความสนใจกับการเร่งพัฒนาบุคคลากรด้านไอที AI,Crypto

1. Bangkok 5.0 ผุด 9 ย่านนวัตกรรม พัฒนาย่านการค้า คืนคลองสวยน้ำใสให้คนกรุง สร้างเครือข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ผ่านเทคโนโลยี 5G

2. ลงทุนขนาดใหญ่ เน้นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลโดยเฉพาะ 5G

3. ยกระดับ SME บริษัท Startups

4. การเกษตรประชารัฐ 4.0 ใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มผลผลิต

5. นำเทคโนโลยีการสื่อสารช่วยเสริมด้านการศึกษา

4.พรรคประชาธิปัตย์ พรรคนำเสนอการอัดฉีดเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท เพื่อต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจโตถึง 5% ตามศักยภาพที่มีอยู่ เพราะถ้าเศรษฐกิจโตต่ำกว่า 5% จะไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุน เมื่อไม่มีการลงทุนเกิดขึ้น เศรษฐกิจไทยก็จะไม่สามารถซัพพอร์ทดูแลประชาชนที่ลำบากได้ และที่ผ่านมาเรามาผิดทาง เพราะเรากระตุ้นคนโดยการใช้จ่าย

1. ส่งเสริมบุคลากรด้านเทคโนโลยีจ้างงาน 1 หมื่นคนดูแลไอทีชุมชน

2. ส่งเสริมการสื่อสารผ่าน 5G  นำเทคโนโลยีมาใช้ในภาครัฐ (Govtech)

3. อินเทอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุดทุกหมู่บ้าน ทุกห้องเรียน

4. ปรับการทำงานของกระทรวงดิจิทัลให้ทันสมัยขึ้น

5.พรรคชาติพัฒนากล้า ปรัชญาของพรรคชาติพัฒนากล้า คือ การส่งเสริมการแข่งขัน เราเชื่อมากที่สุด การแข่งขันที่โปร่งใส และเป็นธรรม กลไกตลาด ยังเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีของไทยเรา

1. ส่งเสริมเศรษฐกิจสีน้ำเงิน นำเทคโนโลยีดิจิทัลผลักดันประเทศ

2. ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเหลือง เน้นธุรกิจที่สร้างสรรค์ Creative Economy พัฒนาและผลักดัน Soft Power ของคนไทย

3. ส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน (Fintech)

4. โครงสร้างการทำงานของรัฐเล็กลงด้วยเทคโนโลยี (GovTech) ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย 24 ชั่วโมง

6.พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะหัวหน้าทีมปฏิบัติการเชิงรุกของรัฐบาลตลอด 2 ปีที่ผ่านมา พร้อมประกาศ “ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ”

1. พัฒนาระบบการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Education)

2. พัฒนาระบบสุขภาพ (Digital Health)

3. ส่งเสริมเทคโนโลยี (Citizen Force) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมือง

4. ส่งเสริมการทำธุรกิจออนไลน์

5. สานต่อโครงการด้านเทคโนโลยีจากรัฐบาลชุดเดิม

 

 

 

Related posts