CBDC เงินเฟ้อ ติด Top5 5เรื่องเศรษฐกิจไทยที่คนพูดถึงมากที่สุดปี 2565

CBDC เงินเฟ้อ ติด Top5 5เรื่องเศรษฐกิจไทยที่คนพูดถึงมากที่สุดปี 2565

Uncategorized
December 19, 2022 by Cryptocamping
digital-payment-future

สำหรับ 5 เรื่องเศรษฐกิจไทยที่คนพูดถึงมากที่สุดปี 2565 เผยแพร่โดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีดังนี้

1.เงินเฟ้อ เงินเฟ้อไทยในปีนี้เกิดจากปัจจัยด้านอุปทาน (cost-push) ตามราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นปัจจัย ภายนอกที่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถ จัดการได้โดยตรง แต่หากเงินเฟ้อยังสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้คนเริ่มคาดว่า เงินเฟ้อจะสูงต่อไปเรื่อย ๆ ยากที่จะลดลง ลูกจ้างจะขอขึ้นค่าแรงเพื่อรองรับค่าใช้จ่าย ที่สูงขึ้น ธุรกิจปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ ต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ แบงก์ชาติจึงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วย ดูแลเงินเฟ้อในภาวะที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว ชัดเจนขึ้นจากโควิดแล้ว ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ย จะทําแบบค่อยเป็นค่อยไป

2.เงินสำรองระหว่างประเทศ มีไว้เพื่อเป็นกันชนรองรับความเสี่ยง ด้านต่างประเทศ เช่น กรณีเงินทุนไหลออก จํานวนมาก หรือตลาดการเงินขาดสภาพคล่อง เงินตราต่างประเทศเฉียบพลัน หากประเทศ มีเงินสํารองฯ เพียงพอ จะสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักลงทุน โดยฐานะของเงินสำรองฯ ของไทยยังแข็งแกร่ง และอยู่ในระดับสูงกว่า เกณฑ์มาตรฐานสากล เช่น มูลค่าเงินสำรองฯ เทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นหรือมูลค่าการนําเข้าสินค้า

3.CBDC CBDC คือ เงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางซึ่งต่างจากคริปโทเคอร์เรนซีที่ออกโดยภาคเอกชน เช่น บิตคอยน์ ซึ่งมักมีมูลค่าผันผวนและความเสี่ยง ขึ้นกับผู้ออกเหรียญ แบงก์ชาติได้พัฒนารูปแบบ การโอนเงินแบบเครือข่ายหลายประเทศภายใต้โครงการ CBDC ระหว่างสถาบันการเงิน (mBridge) ร่วมกับ ธนาคารกลางจีน ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอยู่ระหว่างเตรียมทดสอบการใช้งาน CBDC จริง กับรายย่อย (Retail CBDC) ในวงจำกัดร่วมกับ ภาคเอกชนเพื่อประเมินประโยชน์ ความเสี่ยง และความเหมาะสมของเทคโนโลยีต่อไป

4.ค่าเงินบาท ค่าเงินบาทและสกุลเงินอื่นในเอเชีย เคลื่อนไหวผันผวนภายใต้ความไม่แน่นอน ในตลาดการเงินโลกที่สูงจากโควิด การปรับทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย ของธนาคารกลางทั่วโลก และแนวโน้ม เศรษฐกิจโลกที่ผ่านมา เงินบาทและสกุลภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนค่า จากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด อีกทั้งภาคเอกชนควรบริหาร ความเสี่ยงด้านค่าเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน

5.มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากสถานการณ์ใดวิด 19 ที่ยืดเยื้อ แบงก์ชาติได้ออกมาตรการทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วยแก้หนี้เดิมและ เพิ่มเงินใหม่ ซึ่งได้ปรับมาตรการให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ และตรงกับ ปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม และได้ร่วมมือกับกระทรวงการคลัง จัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” เพื่อช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สมัครเข้าร่วมได้จนถึงวันที่ 31 ม.ค. 66 ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย