เล่าเรื่องหน้าแคมป์ : รู้หรือไม่? ไทยมีแผนที่เรียกว่า AI Thailand

เล่าเรื่องหน้าแคมป์ : รู้หรือไม่? ไทยมีแผนที่เรียกว่า AI Thailand

เรื่องเล่าหน้าแคมป์
August 3, 2023 by cryptocamping
Frame 1015 (18)

แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประยุกต์ใช้ AI ในการขับเคลื่อนประเทศอย่างเต็มรูปแบบ

AI Thailand คือโครงการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ของประเทศไทยให้บรรลุผลตามนโยบายของรัฐบาลที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และพัฒนาทักษะของบุคลากรภายในประเทศ ตามกรอบการทำงานที่เรียกว่า แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570) ผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ 15 แผนงาน ดังนี้

1.จริยธรรมและกฎระเบียบ AI แผนงาน : 1.พัฒนาข้อกำหนด กฎหมาย มาตรฐาน และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ AI ของประเทศ 2.สื่อสารและสร้างการรับรู้ด้านจริยธรรม AI เป้าหมาย : ประชาชนไม่ต่ำกว่า 600,000 คน เกิดความตระหนักทางด้าน AI และมีกฏหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ AI ถูกประกาศใช้งานไม่ต่ำกว่า 1 ฉบับ

2.โครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI แผนงาน : 1.สร้างเครือข่ายเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.พัฒนาศูนย์เชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ 3.พัฒนาแพลตฟอร์มกลางระดับประเทศเชิงบูรณาการ 4.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลและคำนวณขั้นสูง

เป้าหมาย : ยกระดับดัชนีความพร้อมด้าน AI ของรัฐบาลไทยให้สูงขึ้นไม่ต่ำกว่าลำดับที่ 50 ของโลก และเกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับสนุนงานด้าน AI ในภาครัฐและเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี

3.กำลังคนด้าน AI แผนงาน : 1.พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทุกระดับการเรียนรู้ 2.สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคธุรกิจ 3.พัฒนากลไกความร่วมมือกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
เป้าหมาย : บุคลากรด้าน AI ของประเทศ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30,000 คน

4.วิจัยและพัฒนานวัตกรรม AI
แผนงาน : 1.ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม แก่กลุ่มสาขาเป้าหมาย 2.พัฒนาเทคโนโลยีฐาน (core tech) และการวิจัยเพื่อสนุนแพลตฟอร์มด้าน AI
เป้าหมาย : เกิดต้นแบบจากผลงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมด้าน AI ไม่ต่ำกว่า 100 ต้นแบบ และสร้างผลกระทบในภาคธุรกิจและภาคสังคมได้ไม่ต่ำกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท ในปี 2570

5.ส่งเสริมธุรกิจและการใช้ AI
แผนงาน : 1.ส่งเสริมการใช้ AI ในภาครัฐ 2.ส่งเสริมการใช้ AI ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3.ส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื่อมโยง Al สู่การใช้งาน 4.พัฒนากลไกและพื้นที่ทดลอง (Sandbox) เพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจและ Al Startup

การผลักดันแผน AI Thailand

แผน AI Thailand จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” และแก้ปัญหาความไม่พร้อมในการใช้งาน AI ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนกำลังคนด้านดิจิทัล การสนับสนุนจากภาครัฐที่กระจัดกระจาย และการไม่มีศูนย์กลางที่ให้ความรู้และบริการที่ชัดเจน

ทั้งนี้ แผน AI Thailand จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี AI ใน 10 กลุ่มเป้าหมาย โดยระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2566) จะโฟกัสที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

1.การใช้งานและบริการภาครัฐ : พัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

2.เกษตรและอาหาร : พัฒนาฟาร์มดิจิทัลและคุณภาพอาหาร

3.การแพทย์และสุขภาวะ : พัฒนาโซลูชั่นการดูแลตนเองและรักษาโรคเรื้อรัง

และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2567-2570) จะโฟกัสที่ 7 กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

1.พลังงานและสิ่งแวดล้อม : พัฒนาโซลูชั่นการบริหารจัดการพลังงานและจัดทำแผนที่สิ่งแวดล้อม

2.การเงินและการค้า : พัฒนาโซลูชั่นการให้คะแนนเครดิตและการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า

3.โลจิสติกส์และการขนส่ง : พัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะและแผนที่เส้นทางขนส่ง

4.ความมั่นคงและปลอดภัย : พัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยในที่สาธารณะและระบบตอบสนองต่ออาชญากรรม

5.ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : พัฒนาโซลูชั่นการวางแผนเส้นทางท่องเที่ยว

6.การศึกษา : พัฒนาการศึกษาแบบอัจฉริยะและแผนที่โอกาสทางการศึกษา

7.อุตสาหกรรมการผลิต : พัฒนาอุตสาหกรรม 4.0

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

เป้าหมายในการผลักดันแผน AI Thailand ที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ฯลฯ แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1.สร้างคนและเทคโนโลยี

– พัฒนาทักษะกำลังคนด้าน AI สําหรับครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา

– เสริมทักษะ AI กับสายงานอื่น (Cross Skills)

– นำไปสู่สร้างอาชีพใหม่ที่ใช้ความรู้และทักษะด้านดิจิทัล

2.สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ

– พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูง

– เพิ่มผลิตภาพขับเคลื่อนวาระสำคัญของรัฐบาล

– ส่งเสริมให้เกิดธุรกิจสตาร์ตอัพด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล

3.สร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

– สร้างความเข้าใจถึงผลกระทบและทำงานร่วมกับ AI

– สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ การศึกษา สุขภาพ และการแพทย์

– รักษาและลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

– ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

– ประเทศมีความมั่นคงและปลอดภัย

 

Related posts