เล่าเรื่องหน้าแคมป์ : ทำไม CBDC เงินดิจิทัลไม่เท่ากับ คริปโทเคอร์เรนซี และ CBDC ของไทยคืบหน้าถึงไหนแล้ว

เล่าเรื่องหน้าแคมป์ : ทำไม CBDC เงินดิจิทัลไม่เท่ากับ คริปโทเคอร์เรนซี และ CBDC ของไทยคืบหน้าถึงไหนแล้ว

เรื่องเล่าหน้าแคมป์
May 23, 2023 by Cryptocamping
Frame 1015 (6)

ทำไม CBDC ไม่เท่ากับ คริปโทเคอร์เรนซี? คริปโทเคอร์เรนซี ไม่เข้าข่ายความเป็นเงิน และไม่มีกฎหมายรองรับให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สร้างขึ้นด้วย “เทคโนโลยีบล็อกเชน” โดยภาคเอกชนที่ส่วนใหญ่ไม่มีสินทรัพย์ใดๆ มาหนุน จึงทำให้มูลค่ามีความผันผวนสูงตามความต้องการซื้อขายของนักลงทุน

แต่ CBDC ออกโดย “ธนาคารกลาง” ของแต่ละประเทศ และเข้าข่ายนิยามความเป็นเงินอย่างครบถ้วน คือ  -เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย  -เป็นที่เก็บรักษามูลค่า กล่าวคือ มีมูลค่ามั่นคง   -เป็นหน่วยวัดมูลค่าของทั้งสินค้าและบริการ  Retail CBDC ถือเป็นเงินบาทในรูปดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่ คือ 1 CBDC = 1 บาท และไม่สามารถนำมาซื้อขายเพื่อเก็งกำไรได้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อไว้รองรับการใช้จ่ายของประชาชนที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบออนไลน์มากขึ้นไม่ใช่เพื่อการลงทุน

CBDC ต่างจาก Promptpay อย่างไร? Promptpay ต้องใช้เงินฝากของประชาชนที่อยู่กับธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ CBDC เป็นเสมือนธนบัตรในรูปดิจิทัล ดังนั้น ในแง่การใช้งาน จะไม่ต่างกัน คือเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ใช้จ่ายในอนาคตง่ายขึ้น จากการที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาโปรแกรมสร้างนวัตกรรมต่อยอดบน CBDC ได้

การพัฒนา CBDC ของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ศึกษาพัฒนาเงินดิจิทัล CBDC ผ่านโครงการ “อินทนนท์” มาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งมีรายละเอียดได้แก่   1. ศึกษาพัฒนาเพื่อการโอนเงินระหว่างประเทศ (wholesale CBDC)  2. ศึกษาพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชน (retail CBDC)

ในปัจจุบันการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเพื่อให้ประชาชนใช้งาน Retail CBDC นั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและทดสอบในหลายๆ มิติ โดยมีทั้ง “การทดสอบระดับพื้นฐาน (Foundation track)” เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ รวมถึงรูปแบบของการนำเทคโนโลยีมาใช้งานจริงกับประชาชนรายย่อย และ “การทดสอบระดับนวัตกรรม (Innovation track)” ด้านความสามารถในการเขียนโปรแกรม ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดบน Retail CBDC ทำให้เกิดบริการทางการเงินใหม่ๆ ที่หลากหลาย

โดยอยู่ระหว่างทดสอบการใช้งาน retail CBDC pllot ร่วมกับผู้ให้บริการ 3 ราย ได้แก่ SCB BAY และ 2C2Pและประชาชนในวงจำกัดไม่เกิน 10,000 ราย ตั้งแต่สิ้นปี 2565 – Q3/2566

ยังไม่มีแผนที่จะนำ retall CBDC มาใช้จริง กับประชาชน ในวงกว้าง การทดสอบนี้เป็น “pllot to learn, not pilot to launch

Related posts