ไม่ใช่ครั้งแรกของความสัมพันธ์อัตราดอกเบี้ยกับวิกฤติของโลกการเงิน ประวัติศาสต์จะซ้ำรอยหรือไม่

ไม่ใช่ครั้งแรกของความสัมพันธ์อัตราดอกเบี้ยกับวิกฤติของโลกการเงิน ประวัติศาสต์จะซ้ำรอยหรือไม่

เรื่องเล่าหน้าแคมป์
March 20, 2023 by Cryptocamping
Frame 951 (6)

ความโกลาหลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับเหตุการณ์แบงค์ล่มของทางฝั่งอเมริกาที่เหมือนจะคลี่คลายแล้วนั้น แท้จริงแล้วคลี่คลายแล้วหรือยัง การพยายามคลายปมของสหรัฐเหมือนจะยิ่งผูกปมให้เศรษฐกิจหรือไม่

บทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ธนาคาร SVB ต้องล่มสลายเนื่องจากผู้บริหารโลภอยากได้ยีลด์ ซึ่งสินทรัพย์ที่ธนาคารดังกล่าวถือส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคาร ต้องขายสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรรัฐบาลแบบขาดทุน  “ยิ่งอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นมากเท่าไร มูลค่าของตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในพอร์ตของ SVB ก็ยิ่งน้อยลงมากเท่านั้น รวมทั้งยิ่งความเสียหายจากการลงทุนของ SVB มากเท่าไรรวมทั้งถ้าไม่มีการป้องกันความเสี่ยงอีกด้วย ผู้ฝากเงินก็ยิ่งไม่ไว้วางใจระบบธนาคารมากเท่านั้น”

หากย้อนกลับไปในช่วง 40-50 ปี ในโลกการเงินแบบเดิมในอเมริกาประสบกับเหตุการณ์คล้ายกันกว่า 200 ครั้งในทศวรรษ 1980 และต้องเข้ามาอุ้มสถาบันการเงินต่างๆ และน่าสนใจว่ามีเพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือปี 1994 และ 2008 ที่กลุ่มผู้ถือหุ้นต้องแบกรับความสูญเสียด้วยตนเอง แม้ในปัจจุบันปัจจุบันหน่วยงานกํากับดูแลเข้ามาอุ้มสถานการณ์ของธนาคาร SVB ไว้ แต่ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป

ปี 1980 คือช่วงที่ Fed ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะต้านกระแสเงินเฟ้อที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ก็คือ 14.6% เหตุการณ์ดังกล่าวกินเวลาเกือบ 20 ปี (ตั้งแต่ 1965 – 1982) โดยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นปีละมากกว่า 1% นับตั้งแต่ 1964 ต่อเนื่องนานถึงหกปี จนมากกว่า 14% ในปี 1980 ก่อนลดลงมาเฉลี่ย 3.5% ในช่วงครึ่งหลังของปี จุดมุ่งหมายตอนนั้นของ Fed คือ ทำให้มูลค่าเงินกลับมาลดลงเหมือนเดิม โดยเริ่มต้นปรับดอกเบี้ยจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 14% เมื่อ ม.ค. ปี 1980 เพิ่มขึ้นมา 2% จนไต่มาถึงช่วงระดับ 19-20% เมื่อธันวาคมปีเดียวกัน ซึ่งถือว่าสูงมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การนำของ Paul Volcker ก่อนถึงจะถึงยุคของ Alan Greenspan มารับช่วงต่อเมื่อปลาย ส.ค. ปี 1987

การกดดอกเบี้ยสูงๆในช่วงครึ่งปีหลังของ 1980 ทำให้สถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อบ้านล้มละลาย สมาคมการออมและเงินกู้ หรือ S&L (Savings and Loans) ล่มสลาย กระทบต่อสวัสดิการครัวเรือนของชาวอเมริกันจำนวนมาก รัฐบาลถูกเร่งรัดให้ช่วยเหลือผู้คน ส่งผลให้ตรึงงบประมาณมากขึ้น

ต่อมา Fed ภายใต้การนำของ Greenspan ต้องรับมือภาวะถดถอยซึ่งเกิดขึ้นประมาณ ก.ค. ปี 1990 – มี.ค. ปี 1991 ถือเป็นภาวะถดถอยครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 1980 ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจและนโยบายการเงิน รวมทั้งสะท้อนความสำคัญของตลาดการเงินที่มีต่อสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก

ช่วงปลายปี 1982 – กลางปี 1990 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีอัตราเติบโตแข็งแกร่ง ว่างงานน้อยลง และเงินเฟ้อต่ำ แต่ไม่ง่ายเกิดปัญหาอื่นตามมา โดยตลาดหุ้นร่วงทั่วโลกเมื่อ ต.ค. ปี 1987 หลายคนเห็นว่านี่เป็นสัญญาณที่ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเกิดเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากสหรัฐฯ ขาดงบดุลฯ ครั้งใหญ่

Greenspan และพรรคพวก พยายามหาวิธีขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้ถึง 6.5% ใน พ.ค. ปี 2000 โดยอัตราดอกเบี้ยลดลงต่ำถึง 3% ใน ก.ย. ปี 1992 ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบสิบปี เมื่อ เม.ย. ปี 1994 ได้มีการประชุมเร่งด่วนว่าด้วยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งลดต้นทุนกู้ยืมเมื่อ ต.ค. ปี 1998

ที่สำคัญ FED ภายใต้การนำของ Greenspan ได้ปรับลดอัตราเบี้ยประกันเป็นครั้งแรก เหตุการณ์นี้ทำเพื่อช่วยหนุนเศรษฐกิจ ไม่ได้ต้านภาวะถดถอยแต่อย่างใด ซึ่งเห็นได้จากกรณีผิดนัดชำระหนี้รัสเซีย หรือกองทุนเฮดจ์รายใหญ่ล่มสลาย ช่วง 2004-2006 Fed ขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งอยู่ที่ 5.25% เพื่อต้านอัตราเงินเฟ้อไว้ ส่งผลให้เครดิตใหม่ไหลเวียนจากสถาบันการเงินไปตลาดอสังหาฯ น้อยลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและสินเชื่ออื่นกลับมาพุ่งสูงกว่าที่ผู้กู้คิดไว้ เกิดเป็น Housing Bubble

เมื่อตลาดอสังหาฯ เริ่มวิกฤติ พวกหลักทรัพย์ที่ค้ำด้วยสินเชื่ออสังหาฯ (MBS)  หรืออนุพันธ์อิงมูลค่าระดับต่ำนั้นก็มีมูลค่าลดลง ตลาดสินเชื่อดิ่งลงตามราคาบ้านอย่างรวดเร็วเมื่อปี 2007 ธนาคารและสถาบันการเงินล้มตามกันหลัง Bear Sterns ล่มสลายเมื่อ มี.ค. ปี 2008 จนมาถึงการล้มละลายของ Lehman Brothers ธนาคารใหญ่อันดับสี่ของสหรัฐฯ เมื่อ ก.ย. ปีเดียวกัน วิกฤติในครั้งนี้ก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายกับผู้คนจำนวนมาก

วิกฤติในครั้งนี้ทำให้อเมริกา เกิดการว่างงาน 8.7 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ชาวอเมริกันสูญเงินไป 19 ล้านล้านดอลลาร์ฯ หลังตลาดหุ้นดิ่ง ที่สำคัญ เศรษฐกิจโลกต่างได้รับผลกระทบถ้วนหน้า แต่แล้วในช่วงวิกฤติก็ยังมีพระเอกขี่ม้าขาว การตัดสินใจของ Ben Bernanke หั่นดอกเบี้ยจนแทบเหลือศูนย์ ทำให้กอบกู้เศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงนั้นมาได้

จะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันโลกของการเงินมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเศรษฐกิจที่แทบจะคาดการณ์ไม่ได้ เหตุการณ์แบงค์ล่มในครั้งนี้จะจบเพียงระยะเวลาสั้นๆได้จริงหรือไม่

Related posts